เครือข่ายสิ่งแวดล้อมชุมชน ประเทศไทย
Community Environment Network Thailand
ค้นหารายชื่อชุมชน / จังหวัดที่ท่านต้องการ
ชาวบ้านมีการรวมตัวตั้งเป็นกลุ่มอนุรักษ์เพื่อรักษาป่า และเป็นกำลังเสริมให้กับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในการเฝ้าระวังไม่ให้คนบุกรุกและลักลอบตัดไม้ และมีอาสาสมัคร เพื่อทำหน้าที่เวรยามลาดตระเวนป่าและดูแลป้องกันไฟป่า หากพบจะว่ากล่าวตักเตือน โดยใช้การเจรจาและประนีประนอม
มีแนวคิดในการจัดทำโครงการอนุรักษ์ป่าชายเลนและรักษาพื้นที่ทะเลเพื่อทำการประมงพื้นบ้านขึ้น โดยใช้ปูเปี้ยวเป็นตัวนำการอนุรักษ์ ซึ่งสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 13 ได้เข้าไปปลูกป่าร่วมกับชาวบ้าน ทำให้ป่าชายเลนเริ่มอุดมสมบูรณ์ขึ้น สัตว์น้ำและปูเปี้ยวเพิ่มจำนวนมากขึ้น
ชาวบ้านได้กำหนดกลยุทธ์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อใช้ในการพิทักษ์ป่าชายเลนผืนใหญ่ของภูเก็ต เช่น การจัดเวรยามออกสำรวจป่า การปลูกป่าทดแทน การสร้างกติกาที่ชัดเจนในการใช้ประโยชน์จากป่าร่วมกัน การปักแนวเขตป่า การเชื้อเชิญให้ทางราชการเข้ามารับรู้หรือมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชน จัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดยชาวบ้านในชุมชน
หมู่ 1 ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 2 ศูนย์การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากทะเล หมู่ 3 ศูนย์เกี่ยวกับพืชเส้นใย เพื่อเพิ่มมูลค่าพวก ต้นปอ กก หมู่ 4 ป่าตะกาดใหญ่ ดูแลด้านการอนุรักษ์ และหมู่ 5 เป็นบ้านปลา ธนาคารปู รวมกันเป็น “เครือข่ายองค์กรชุมชนตำบลบางสระเก้า”
การพูดคุยหารือกับคณะกรรมการชุมชน และสื่อสารถึงชาวบ้านให้ร่วมกันปฏิบัติ เพราะชาวบ้านเข้าใจดีว่าถ้ารักษาต้นน้ำไว้ได้ คนเมืองก็ได้ใช้ประโยชน์ จนกระทั่งทุกวันนี้ วันนี้ ชาวบ้านปกาเกอญอบ้านแม่หมียังคงทำไร่หมุนเวียน ไปพร้อมกับการดูแลผืนป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่ ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมยังคงมีอยู่
ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านวังลุง ประกอบด้วยสมาชิกจาก 2 หมู่บ้าน คือหมู่ 1 และหมู่ 6 ต.ทอนหงส์ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช การก่อตั้งในปีแรกมีสมาชิกประมาณ 300 ครอบครัวสมาชิกชมรมร่วมกับหน่วยพิทักษ์ป่า และอุทยานแห่งชาติเขาหลวง
ชุมชนนำร่องที่รณรงค์เรื่องการจัดการป่าชุมชนของตำบลต้นยวน สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าจากเดิม 1,600 ไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 3,400 ไร่ ได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนที่บริจาคพื้นที่ทำกินบางส่วนให้เป็นพื้นที่ป่าชุมชน นอกจากนี้ยังมีการแบ่งพื้นที่ทำกิน ป่าใช้สอย และป่าอนุรักษ์โดยการทำแนวเขตที่ชัดเจน
สร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน การอบรมมัคคุเทศก์น้อยเพื่อให้ความรู้เรื่องป่าชายเลนและชายฝั่ง การสนับสนุนสร้างอาชีพเสริม เช่น การทำนาเกลือผสมผสานกับการปลูกพืชเกษตร การแปรรูปหอยเสียบ หอยแครงดองเค็ม นอกจากนี้ ยังขยายแนวคิดการทำงานไปสู่พื้นที่ต่างๆ ทั้งในตำบลใกล้เคียงและนอกพื้นที่